Welcome to Information Technology and Community

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การสื่อสารข้อมูล

วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด



การสื่อสารข้อมูล

     การสื่อสารข้อมูล
       ในปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีบทบาทและความสำคัญที่ได้พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้โดยการผ่านสื่อกลางต่างๆ ซึ่งสื่อกลางแต่ละแบบ ก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป

สื่อการสื่อสารข้อมูล
       การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีสื่อกลางสำหรับเชื่อมโยงสถานีหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นตัวกลางให้ผู้ส่งข้อมูล จากผู้ส่งไปยังผู้รับได้ สื่อกลางการสื่อสารข้อมูลแบ่งออกเป็น 2ประเภท ดังนี้
                                       1.สื่อกลางทางกายภาพ (physical media)
                                       2.การสื่อสารไร้สาย (wireless media)



สื่อกลางทางกายภาพ (physical media) เป็นการเชื่อมโยงสถานีระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล โดยอาศัยสัญญาณเป็นสื่อกลางในระบบสื่อสารข้อมูล ตัวอย่างสายสัญญาณ มีดังนี้
      1.1 สายดีเกลียวคู่ (twisted pair cable หรือ TP) ประกอบด้วยลวดทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวนพลาสติกจำนวน 4คู่ แต่ละคู่จะพันกันเป็นเกลียว 2คู่จะใช้สำหรับช่องทางการสื่อสาร 1ช่องทาง สายเกลียวคู่เป็นมาตรฐานในการส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลได้ในระยะเวลานาน สายสัญญาณประเภทนี้นิยมใช้เป็นสานโทรศัพท์ เพื่อส่งสัญญาณโทรศัพท์

       1.2 สายโคแอกเชียล (coaxial cable) ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าสายดีเกลียวคู่ ประมาณ 80 เท่า ส่วนใหญ่ใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์

     1.3 สายใยแก้วนำแสง (fiberoptic cable)  ประกอบด้วยเส้นใยแก้วขนาดเล็กซึ่งหุ้มด้วยฉนวนหลายชั้น โดยการส่งข้อมูลใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วถึง 26,0006 เท่าของสายดีเกลียวคู่ มีน้ำหนักเป็นและมีความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลมากกว่าสายโคแอกเซียล อีกทั้งการส่งจะใช้ลำแสงในการส่งที่มีความเร็วเทียวเท่ากับความเร็วแสง ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เป็นระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง


       การสื่อสารไร้สาย (wireless media) เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล แต่จะใช้อากาศเป็นสื่อกลาง ตัวอย่างสื่อกลางไรสายมรดังนี้


2.1 อินฟราเรด (infrared) เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลในระยะที่ไม่ไกล การส่งข้อมูลในคลื่นอินฟราเรดต้องส่งในแนวเส้นตรง และไม่สารถทะลุสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้ นิยมถ่ายโอนข้อมูลแบบพกพา เช่น โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพีดีเอไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นต้น
2.2 คลื่นวิทยุ (radio waveเป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เรียกว่า เครื่องรับส่ง (transceiver) ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณวิทยุจากอุปกรณ์ไรสายต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่สามารถเปิดเว็บไซต์ได้ เป็นต้นผู้ใช้บางรายใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการเชื่อมต่อเพื่อใช้บริการอินเตอร์เน็ต
              ปัจจุบันมีเทคโนโลยีไร้สายใช้คลื่นวิทยุ คือ บลูทูธ (Bluetooth)  ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณวิทยุในระยะสั้น เหมาสำหรับการติดต่อสื่อสารในระยะ 33 ฟุต การส่งสัญญาณสามารถส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ ทำให้เทคโนโลยี บลูทูธ มีความนิยมสูง จึงมีการเอามาบรรจุลงในเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น
2.3 ไมโครเวฟ (microwave) เป็นการสื่อสารโดยใช้วิทยุความเร็วสูงสามารถส่งสัญญาณออกเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปอีกสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง ไม่สามารถโค้งหรือเลี้ยวได้ สามารถรับส่งได้ในระยะทางใกล้ๆ นิยมใช้ระหว่างการสื่อสารสำหรับอาคารที่อยู่ในเมืองเดียวกัน หรือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สำหรับการสื่อสารในระยะทางไกลๆต้องใช้สถานีรับและกระจายสัญญาณ ซึ่งมีลักษณะเหมือนจานหรือเสา เพื่อส่งสัญญาณออกเป็นทอดๆโดยติดตั้งบนพื้นที่สูง เช่น ยอดเขา หอคอย ตึก เป็นต้น โดยปกติความถี่ไมโครเวฟจะอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคมและการทำอาหาร
2.4 ดาวเทียม (satellite) เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ แต่เนื่องจากเป็นคลื่นที่เดินทางในแนวเส้นตรง ทำให้พื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศหรือภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น จึงมีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก ทำให้หน้าที่เป็นสถานีส่งหรือรับข้อมูลถ้าเป็นข้อมูลที่ส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียมเรียกว่า การเชื่อโยงขึ้นหรือ อัปลิงค์ (Uplink) ส่วนการรับข้อมูลจากดาวเทียมสู่ภาคพื้นดินเรียกว่า การเชื่อมโยงหรือดาวน์ลิงค์ (down linkทั้งนี้มีระบบเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมและอาศัยการทำงานของดาวเทียมเป็นหลัก คือ ระบบจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) ที่ช่วยตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่บนพื้นผิวโลก เช่นการติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสไว้ในรถและทำงานร่วมกับแผนที่ ผู้ใช้สามารถขับรถไปตามระบบนำทางได้ นอกจากนี้ยังได้นำอุปกรณ์จีพีเอสมาติดตั้งในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น